651
จป. หรือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานมีทั้งหมด 5 ระดับดังนี้
หน้าที่ จป. หัวหน้างาน
- กำกับดูแลให้ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน
- วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้นโดยอาจร่วมดำเนินการกับ จป.ระดับเทคนิค/เทคนิคขั้นสูง/ระดับวิชาชีพ
- สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน
- ตรวจสอบสภาพการทำงาน เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจำวัน
- กำกับ ดูแล การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้าง
- รายงานการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจาการทำงานของลูกจ้างต่อนายจ้าง
- ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย ร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่อนายจ้าง
- ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน
- ปฏิบัติงานตามที่ จป.บริหาร มอบหมาย
หน้าที่ จป. บริหาร
- กํากับ ดูแล เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานทุกระดับซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหาร
- เสนอแผนงานโครงการด้านความปลอดภัยในการทํางานในหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อนายจ้าง
- ส่งเสริม สนับสนุน และติดตามการดําเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน ให้เป็นไปตามแผนงานโครงการเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทํางานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ
- กํากับ ดูแล และติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความปลอดภัยของลูกจ้างตามที่ ได้รับรายงานหรือตามข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน คณะกรรมการ หรือ หน่วยงานความปลอดภัย
หน้าที่ จป. เทคนิคขั้นสูง
- ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย
- รวบรวมสถิติวิเคราะห์ข้อมูล ทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย
- วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย
- วิเคราะห์แผนงานโครงการมาตรการ
- ตรวจประเมินตามแผน
- ตรวจสอบหาสาเหตุและวิเคราะห์การประสบอันตราย
- แนะนำ ฝึกสอน อบรมลูกจ้าง
- ให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับความปลอดภัย
- ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอื่นๆ ตามที่นายจ้างมอบหมาย
หน้าที่ จป. เทคนิค
- ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฏหมายความปลอดภัย
- ดำเนินการจัดทำรายงานการประสบอันตราย
- รวบรวมสถิติจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะการประสบอันตราย
- ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอื่นๆ ตามที่นายจ้างมอบหมาย
- ให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับความปลอดภัย
- วิเคราะห์งานเพื่อบ่งชี้อันตราย
หน้าที่ คปอ.
- พิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยนอกงานเพื่อป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุและอันตรายอันเกิดจากการทำงานเพื่อนำเสนอต่อนายจ้าง
- รายงานและนำเสนอมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง เพื่อความปลอดภัยทุกฝ่ายที่เข้ามาใช้บริการและปฏิบัติหน้าที่ภายในสถานประกอบกิจการ
- ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
- พิจารณาข้อบังคับและคู่มือความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานเพื่อนำเสนอต่อนายจ้าง
- สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงตรวจสอบสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นภายในสถานประกอบกิจการ อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
- พิจารณาแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงแผนการอบรมเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างหัวหน้างาน ผู้บริหาร นายจ้าง และบุคลากรทุกระดับเพื่อนำเสนอต่อนายจ้าง
- วางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยให้เป็นหน้าที่ที่ลูกจ้างทุกคนทุกระดับต้องปฏิบัติ
- ติดตามผลความคืบหน้าเรื่องที่เสนอนายจ้าง
- รายงานผลปฏิบัติงานประจำปี รวมทั้งระบุปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของ คปอ. ย่อมาจากคณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการที่ปฏิบัติหน้าที่ครบหนึ่งปี เพื่อเสนอต่อนายจ้าง
- ประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
- ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย
หากสนใจอบรม จป. บริหาร สามารถดูข้อมูลได้ทาง Jorporthai.com