อ่านและเรียนรู้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานที่นี่ มีข้อมูลอัปเดตใหม่ทุกวัน

การปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน Emergency Response

by admin
509 views

เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินควรทำอย่างไร

ภาวะฉุกเฉิน คือ ภาวะที่ บุคคลที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหัน ซึ่งมีภาวะคุกคามต่อชีวิต และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนแล้วผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง

หรือทำให้การบาดเจ็บนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้อย่างฉับไว และเมื่อมาถึงสถานพยาบาลแล้วผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติจะต้องได้รับการตรวจรักษาภายใน 0 – 4 นาที และหากท่านเจอกับภาวะฉุกเฉินเช่นนี้ การปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน Emergency Response ควรทำอย่างไร

อาการแบบไหนเรียกว่า “ฉุกเฉิน”

  • ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจ ไม่ตอบสนองต่อการเรียก หรือกระตุ้น ไม่มีชีพจร จำเป็นต้องได้รับการกู้ชีพทันที
  • การรับรู้ สติเปลี่ยนไป บอกเวลา สถานที่ คนที่คุ้นเคยผิดอย่างเฉียบพลัน
  • มีระบบหายใจมีอาการผิดปกติ เช่น ไม่สามารถหายใจได้ปกติ หายใจเร็ว แรง และลึก หายใจมีเสียงดังผิดปกติ พูดได้แค่สั้นๆ หรือร้องไม่ออก ออกเสียงไม่ได้ สำลักอุดทางเดินหายใจ มีอาการเขียวคล้ำ
  • มีระบบไหลเวียนของเลือดวิกฤติอย่างน้อย 2 ข้อ คือ ตัวเย็นและซีด เหงื่อแตกจนท่วมตัว หมดสติชั่ววูบ หรืออาการวูบเมื่อลุกยืน
  • อวัยวะภายในร่างกายมีอาการฉีกขาด เสียเลือดมาก เสี่ยงต่อการพิการ
  • อาการอื่นๆ ที่มีภาวะเสี่ยงต่อชีวิตสูง เช่น เจ็บหน้าอกรุนแรง แขนขาอ่อนแรงทันทีทันใด หรืออาการชักเกร็ง
  • ผู้ที่สัมผัสกับสารพิษ สัตว์มีพิษกัด หรือได้รับยามากเกินขนาด
  • ผู้ป่วยตั้งครรภ์ ที่มีอาการเจ็บท้องคลอด มีมูกเลือด มีน้ำเดิน

2.หากพบเห็นผู้ป่วยฉุกเฉิน ให้รีบโทรแจ้ง แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย copy

หากพบเห็นผู้ป่วยฉุกเฉิน เราจะทำอย่างไร

“ผู้ป่วยฉุกเฉิน” จะมีโอกาสรอดและปลอดภัยมากขึ้น หากผู้พบเห็น ปฏิบัติและช่วยเหลือได้อย่างถูกวิธี เมื่อพบเจอผู้ป่วยฉุกเฉิน ควรปฏิบัติอย่างไร?

หากพบผู้ป่วยฉุกเฉิน ให้รีบโทรแจ้ง 1669 แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย โดยปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้

1. เมื่อพบผู้ป่วยฉุกเฉิน หรือผู้ประสบอุบัติเหตุให้ตั้งสติ และโทรแจ้งสายด่วน 1669

2. ให้ข้อมูลลักษณะเหตุการณ์ ว่าเกิดอุบัติเหตุอะไร ประเภทใด หรือเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินในลักษณะใด เช่น คนถูกรถชน รถชนกัน รถคว่ำ คนตกจากที่สูง มีบาดแผลขนาดใหญ่ ลึก มีเลือดออกมาก ห้ามเลือดไม่อยู่ ไฟฟ้าช็อต ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ได้รับสารพิษ ยาพิษ สัตว์มีพิษกัดต่อย หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน เช่น หมดสติ มีอาการของภาวะช็อค เช่น หน้าซีด เหงื่อออก ตัวเย็น ซึมลง ชักเกร็ง ชักกระตุก เป็นไข้สูง ตัวร้อนจัด หนาวสั่น ตกเลือด เจ็บท้องคลอดฉุกเฉิน มีสิ่งแปลกปลอดอุดกั้นทางเดินหายใจ เจ็บหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย ถูกทำร้ายร่างกาย มีอาการทางจิตเวช เป็นต้น

3. บอกสถานที่เกิดเหตุ จุดเกิดเหตุ  หรือจุดเด่นที่สำคัญที่สามารถเห็นชัด และเส้นทางที่สามารถไปถึงที่เกิดเหตุได้

4. บอกเพศ ช่วงอายุ จำนวนผู้บาดเจ็บ อาการรุนแรงของแต่ละคน

5. บอกระดับความรู้สึกตัวของผู้บาดเจ็บ

6. บอกความเสี่ยงซ้ำ เช่น อยู่กลางถนน เพราะอาจเกิดกรณีรถเหยียบซ้ำได้

7. ชื่อผู้แจ้งหรือผู้ให้การช่วยเหลือหรือเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้

8. แจ้งอาการผู้ป่วยเพิ่มเติม และช่วยเหลือตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ตามอาการผู้ป่วยฉุกเฉิน

9. รอชุดปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินมารับผู้ป่วยเพื่อนำส่งโรงพยาบาล

ในระหว่างการทีมแพทย์เข้ามาช่วยเหลือ คุณสามารถทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นตามอาการได้ เพื่อลดขั้นตอนการดำเนินงานของแพทย์ และสามารถส่งต่อสู่กระบวนการอื่นๆได้เร็วยิ่งขึ้น คุณสามารถฝึกทักษะการปฐมพยาบาลไม่ว่าจะเป็น การCPR ให้เด็กและผู้ใหญ่ การปฐมพยาบาลคนถูกงูกัด หัวแตก สามารถฝึกได้ที่ หลักสูตรปฐมพยาบาลเบื้องต้น จากศูนย์ฝึกมาฐานสากล

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น หากพบผู้ป่วยฉุกเฉิน

3.การปฐมพยาบาลเบื้องต้น หากพบผู้ป่วยฉุกเฉิน

กรณีบาดแผลฉีกขาด

1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดของผู้ป่วยโดยตรงเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
2. ทำการห้ามเลือดโดยใช้ผ้าสะอาดปิดบาดแผลไว้
3. สังเกตการเสียเลือดถ้าเลือดออกไม่หยุดให้ใช้ผ้ายือพัน
4. กรณีเป็นแผลที่แขน ขา และ ไม่มีกระดูกหักให้ยกส่วนนั้นให้สูง

กรณีบาดแผลอวัยวะถูกตัดขาด

1. เก็บอวัยวะที่ขาดใส่ถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่น
2. แช่ในภาชนะที่มีนํ้าผสม นํ้าแข็ง อีกชั้น
3. ห้ามเลือดบริเวณปลายอวัยวะที่ถูกตัดขาด
4. ห้ามแช่ลงไปในนํ้าแข็งโดยตรง

กรณีบาดแผลเกิดจากไฟไหม้นํ้าร้อนลวก

1. ถอดเสื้อผ้าและเครื่องประดับที่ถูกเผาไหม้ออก ถ้าไหม้ติดกับผิวหนัง เมื่อถอดอาจมีการดึงรั้งควรตัดเสื้อผ้าในส่วนนั้นออก
2. ใช้นํ้าสะอาดล้างแผลเพื่อทำความสะอาดลดอาการแสบร้อน
3. ห้ามใช้โลชั่น ยาสีฟันยาปฎิชีวนะทาบนแผลเพราะปิดกั้นการระบายและห้ามเจาะตุ่มพอง

กรณีแผลฉีกขาดกระดูกหนัก

1. กรณีไม่มีบาดแผล ประคบด้วยนํ้าแข็ง บริเวณที่ปวดบวมผิดรูป เพื่อลดอาการตามกระดูกยืดตรึงส่วนที่หักให้อยู่นิ่งมากที่สุด
2. กรณีกระดูกหักแผลเปิดและกระดูกโผล่ ห้ามดันกระดูกกลับเข้าที่เด็ดขาดห้ามเลือดตามขั้นตอน

กรณีภาวะช็อก

1. ภาวะช็อกอาจเกิดจากการเสียเลือดมาก มีอาการ เช่น ซึม ซีด เหงื่อออก ตัวเย็น ชีพจรเบา หายใจเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน กระหายนํ้า
2. จัดให้นอนในที่ราบ ยกขาสูง ห่มผ้าให้อุ่น คลายเสื้อผ้าให้หลวม ห้ามใช้อาหารหรือนํ้า จนกว่าทีมช่วยเหลือจะมาถึง

กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ผู้ป่วยหอบหืด

1. นั่งให้สบายให้ผู้ป่วยนั่งในท่าที่สบายคลายเสื้อผ้าให้หลวม
2. อาการถ่ายเทพาไปยังที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก
3. ใช้ยาพ่นถ้าผู้ป่วยมียาพ่นให้ใช้ยาที่มีอยู่
4. โทรแจ้ง 1669 หากอาการไม่ดีขึ้นรีบโทรแจ้ง 1669

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

1. มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหมือนมีอะไรทับหรือบีบรัดนานกว่า 20 นาที
2. อาจร้าวไปที่ใบหน้า ปวดกรามร้าวมาถึงสะดือ ปวดจุกแน่นลิ้นปี่ ลามไปที่แขน ไหล่จนถึงปลายนิ้ว
3. มีอาการของระบบประสาท เช่น หายใจเหนื่อยนอนนาบไม่ได้เหงื่อออก ใจสั่น คลื้นไส้ อาเจียน หน้ามืด หมดสติ
4. เบื้องต้นให้นอนพักลดการเคลื่อนไหวโดยไม่จำเป็นและโทรแจ้ง 1669
5. สังเกตอาการอย่างใกล้ชิดถ้าพบว่าหมดสติหยุดหายใจให้กดนวดหัวใจตามวิธีการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและโทรแจ้ง 1669

ผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองแตก/ตีบ/ตัน

1. มีอาการอ่อนแรง ชาบริเวณใบหน้า แขน ขา อ่อนแรง หรือชาครึ่งชีกของร่างกาย การพูดผิดปกติ เช่น ลิ้นคับปาก พูดไม่ชัด อาการมักเกิดขึ้นทันทีทันใด รีบโทรแจ้ง 1669 โดยด่วน
2. ดูการตอบสนอง เรียกผู้ป่วย ดูว่าผู้ป่วยรู้สึกตัวหรือมีการตอบสนองหรือไม่
3. ความรู้สึกตัวลดลงหรือไม่รู้สึกตัวให้นอนตะแคงเพื่อป้องกันการสำลัก
4. นําตัวส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดภายใน 4 ชั่วโมง

บทความและหลักสูตรที่น่าสนใจ

แหล่งรวบรวมความรู้ที่เป็นประโยชน์ในด้านความปลอดภัยในการทำงาน เรียนรู้เรื่องน่าสนใจและเทคนิคที่คุณสามารถนำไปใช้ได้จริง 

Copyright @2023  All Right Reserved – Designed and Developed by smartweb-ec