“รถยก” หมายความว่า รถที่ติดตั้งอุปกรณ์ใช้สำหรับการยกหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของ เช่น ฟอร์คลิฟต์ (forklift) หรือรถที่ทำงานในลักษณะเดียวกัน ตามกฎหมายล่าสุดเกี่ยวกับการทำงานกับโฟล์คลิฟท์ และ กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก 2564
ส่วนที่ ๔ รถยก ข้อ ๓๔ ในการทำงานเกี่ยวกับรถยก นายจ้างต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
- จัดให้มีโครงหลังคำของรถยกที่มั่นคงแข็งแรง สามารถป้องกันอันตรายจากวัสดุตกหล่นได้ เว้นแต่รถยกที่ออกแบบมาให้ยกวัสดุสิ่งของที่มีความสูงไม่เกินศีรษะของผู้ขับขี่
- จัดให้มีป้ายบอกพิกัดน้ำหนักยกอย่างปลอดภัยตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดคุณลักษณะ และคู่มือการใช้งานตามข้อ ๘ ไว้ที่รถยก พร้อมทั้งติดตั้งป้ายเตือนให้ระวัง
- ตรวจสอบรถยกให้มีสภาพใช้งานได้ดีและปลอดภัยก่อนการใช้งานทุกครั้ง และต้องมีสำเนาเอกสารการตรวจสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้
- จัดให้มีสัญญาณเสียงหรือแสงไฟเตือนภัยในขณะทำงานตามความเหมาะสมของการใช้งาน
- จัดให้มีอุปกรณ์ช่วยการมองเห็นตามสภาพในการทำงาน เช่น กระจกมองข้าง
- ให้ลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่ขับรถยกชนิดนั่งขับสวมใส่เข็มขัดนิรภัยในขณะทำงานบนรถตลอดเวลา
ข้อ ๓๕ นายจ้างต้องไม่ดัดแปลงหรือกระทำการใดกับรถยกที่มีผลทำให้ความปลอดภัยในการทำงานลดลง เว้นแต่กรณีที่นายจ้างดัดแปลงรถยกเพื่อใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง และได้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานแล้ว
ข้อ ๓๖ นายจ้างต้องควบคุมดูแลบริเวณที่มีการเติมประจุไฟฟ้าแบตเตอรี่สำหรับรถยก ที่ใช้ไฟฟ้าให้อยู่ห่างจากบริเวณที่ลูกจ้างทำงานได้อย่างปลอดภัย และจัดให้มีมาตรการเกี่ยวกับการระบายอากาศเพื่อป้องกันการสะสมของไอกรด และไอระเหยของไฮโดรเจนจากการประจุไฟฟ้า
ข้อ ๓๗ นายจ้างต้องตีเส้นช่องทำงเดินรถยกบริเวณภายในอาคารหรือกำหนดเส้นทางเดินรถยกในบริเวณอื่นที่มีการใช้รถยกเป็นประจำ
ข้อ ๓๘ นายจ้างต้องติดตั้งกระจกนูนหรือวัสดุอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายกันไว้ที่บริเวณทางแยก หรือทางโค้งที่มองไม่เห็นเส้นทางข้างหน้า
ข้อ ๓๙ นายจ้างต้องจัดทางเดินรถยกให้มีความมั่นคงแข็งแรง และสามารถรองรับน้ำหนักรถ รวมทั้ง น้ำหนักบรรทุกของรถยกได้อย่างปลอดภัย
ข้อ ๔๐ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้ขับรถยก ผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้รถยกแต่ละประเภท ความปลอดภัยในการขับรถยก การตรวจสอบและบำรุงรักษารถยกโดยวิทยากรซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับรถยก ตามหลักสูตร ที่อธิบดีประกาศกำหนด
ข้อ ๔๑ นายจ้างต้องควบคุมดูแลการนำรถยกไปใช้ปฏิบัติงานใกล้สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีแรงดันไฟฟ้า โดยต้องมีระยะห่างเพื่อความปลอดภัย ดังต่อไปนี้
- สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้า ไม่เกิน ๖๙ กิโลโวลต์ ต้องห่างไม่น้อยกว่ำ ๓.๑ เมตร
- สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้า เกิน ๖๙ กิโลโวลต์แต่ไม่เกิน ๑๑๕ กิโลโวลต์ ต้องห่างไม่น้อยกว่า ๓.๓ เมตร
- สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้า เกิน ๑๑๕ กิโลโวลต์แต่ไม่เกิน ๒๓๐ กิโลโวลต์ ต้องห่างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร
- สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้า เกิน ๒๓๐ กิโลโวลต์แต่ไม่เกิน ๕๐๐ กิโลโวลต์ ต้องห่างไม่น้อยกว่า ๖ เมตร
การทำงานกับรถยกพนักงานที่ปฏิบัติงานจะต้องผ่านการอบรมโฟล์คลิฟท์เพื่อให้สามารถขับรถยกได้อย่างปลอดภัยและเข้าใจถึงวิธีการยกเคลื่อนย้ายสินค้าได้อย่างถูกต้อง
ข้อควรระวังในการทำงานกับรถยก
รถยกเป็นเครื่องจักรทรงพลังที่ใช้ในการยก และ เคลื่อนย้ายวัตถุหนักต่างๆ ในโรงงาน สถานที่ก่อสร้าง และ สถานที่ทางอุตสาหกรรมอื่นๆ สิ่งสำคัญ คือ ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมากเมื่อใช้งานกับรถยก เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อคนรอบข้างได้หากใช้งานไม่ถูกต้อง ควรศึกษาคำแนะนำด้านความปลอดภัยในการทำงาน และ ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเมื่อใช้งานรถยกดังนี้
- คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งขณะใช้งานรถยก
- ห้ามบรรทุกเกินพิกัดพิกัดของรถยก
- ห้ามให้ใครนั่งรถยกไปกับคุณ
- รักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากคนงานและคนเดินถนนคนอื่นๆ
- ห้ามใช้รถยกเพื่อยกคนหรือแสดงโลดโผน
- ห้ามใช้งานรถยกในขณะที่อยู่ภายใต้ฤทธิ์ของยาหรือแอลกอฮอล์
- ปฏิบัติตามกฎจราจรและสัญญาณเมื่อขับรถยก
- เมื่อปฏิบัติตามคำแนะนำด้านความปลอดภัยเหล่านี้ คุณสามารถช่วยให้รถยกของคุณทำงานอย่างปลอดภัย และปกป้องตัวคุณเองและคนรอบข้างได้