อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล PPE Personal protective equipment

by admin
382 views

ทำไมต้องมี อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล PPE Personal protective equipment

การทำงานให้ปลอดภัยด้วยการสวมใส่อุปกรณ์ PPE Personal protective equipment อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงานจะช่วยให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้นซึ่งในปัจจุบันนั้นการทำงานมีความเสี่ยงอันตรายโดยที่เราไม่สามารถรู้ได้ว่าจะเกิดอุบัติเหตุขึ้นเมื่อใดวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ว่ามีอะไรบ้าง อุปกรณ์ความปลอดภัย (Personal Protective Devices (PPP) หรือ Personal Protective Equipment PPE คือ อุปกรณ์สาหรับผู้ปฏิบัติงานในการสวมใส่ขณะทำงาน

เพื่อป้องกันอันตรายเพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ หรือช่วยลดอาการบาดเจ็บจากหนักให้เป็นเบา เช่น ถ้าใช้เครื่องมืออุปกรณ์ความปลอดภัยก็จะทำให้ลดความเสี่ยงในการทำงานมากกว่าเดิมการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยเป็นวิธีการหนึ่งในหลายวิธีในการป้องกันอันตรายจากการทางานซึ่ง

โดยทั่วไปจะมีการป้องกันและควบคุมที่สภาพและสิ่งแวดล้อมของการทางานก่อนโดยการแก้ไขปรับปรุงทางวิศวกรรมการกั้นแยกไม่ให้ปะปนกับสิ่งอื่นหรือการใช้เซฟการ์ดแบบต่างๆ หรือการที่จะต้องปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเปลี่ยนกรรมวิธีการทำงานส่วนในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ ก็จะนำกลวิธีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายมาใช้ประกอบด้วยเพื่อช่วยป้องกันอวัยวะของร่างกาย ในส่วนที่ต้องสัมผัสงานมิให้ประสบอันตรายจากภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นขณะทำงาน

พนักงานปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย

หมวกนิรภัย อุปกรณ์เซฟตี้ป้องกันศีรษะ (Head Protection Devices)

หมวกนิรภัย หรือหมวกเซฟตี้ใช้สำหรับป้องกันของแข็งตกกระทบศีรษะ ส่วนใหญ่ตัวหมวกจะทำมาจากพลาสติกแข็ง โลหะ หรือไฟเบอร์กลาส (ใยแก้ว) มีสายรัดศีรษะ ที่สามารถปรับให้เหมาะสมกับศีรษะของผู้สวมใส่ได้ และสายรัดคาง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยล็อกให้หมวกติดอยู่กับศีรษะ เพิ่มความปลอดภัยได้อีกระดับ

หมวกเซฟตี้แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ตามการใช้งาน ได้แก่

  • หมวกเซฟตี้ประเภท A ทำมาจากพลาสติก หรือไฟเบอร์กลาส นิยมใช้งานกันทั่วไป เช่น งานก่อสร้าง งานในคลังสินค้า
  • หมวกเซฟตี้ประเภท B ทำมาจากพลาสติก หรือไฟเบอร์กลาส สำหรับใช้งานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าแรงสูงโดยเฉพาะ
  • หมวกเซฟตี้ประเภท C ทำมาจากโลหะ เหมาะสำหรับใช้ในพื้นที่ที่มีอากาศร้อน แต่ไม่ควรใช้กับงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า
  • หมวกเซฟตี้ประเภท D ทำมาจากพลาสติก หรือไฟเบอร์กลาส เหมาะกับใช้ในงานดับเพลิง

อุปกรณ์เซฟตี้ป้องกันหู (Ear Protection)

อุปกรณ์เซฟตี้สำหรับป้องกันหู จะช่วยลดแรงกระแทกจากคลื่นเสียงที่อาจเป็นอันตรายกับแก้วหูและกระดูกหู เหมาะกับการใช้งานในอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมก่อสร้างที่ใช้เครื่องเจาะปูน หรือใช้ในพื้นที่ที่มีเสียงดังอยู่ตลอดเวลา อย่างโรงงาน หรือคลังสินค้า เป็นต้น อุปกรณ์เซฟตี้ป้องกันหู มี 2 แบบ คือ

  • ที่อุดหู (Ear plug) มีลักษณะเป็นจุกยางเล็กๆ ใช้อุดเข้าไปในรูหู ทำมาจากไฟเบอร์กลาส ยาง โฟม ขี้ผึ้ง หรือฝ้าย ซึ่งที่อุดหูไฟเบอร์กลาสจะป้องกันเสียงได้ดีที่สุด ช่วยลดความดังได้ถึง 20 เดซิเบล แต่ข้อเสียคือแข็ง อาจทำให้ระคายเคืองได้ง่าย ส่วนที่เป็นยาง จะช่วยลดความดังได้ 15-30 เดซิเบล และแบบฝ้าย จะช่วยลดความดังได้เพียง 8 เดซิเบลเท่านั้น
  • ที่ครอบหู (Ear muff) มีลักษณะคล้ายหูฟังแบบไร้สายใช้ครอบหูทั้งสองข้าง บริเวณที่ครอบหูจะมีวัสดุป้องกันเสียงอยู่ แล้วบุทับด้วยโฟม พลาสติก หรือยาง เพื่อใช้เป็นตัวดูดซับเสียงอีกชั้นหนึ่ง ช่วยลดความดังของเสียงได้มากถึง 40 เดซิเบล ที่ครอบหูบางชนิดยังออกแบบให้มีเครื่องมือสื่อสารในตัว เพื่อสะดวกในการประสานงาน โดยไม่ต้องถอดที่ครอบหูออกนั่นเองค่ะ

แว่นนิรภัย อุปกรณ์เซฟตี้ป้องกันดวงตา (Eye Protection)

แว่นนิรภัย สำหรับป้องกันดวงตาจากสารเคมี สะเก็ดไฟ เศษวัสดุ หรือเศษฝุ่น ส่วนใหญ่มักสวมใส่ขณะปฏิบัติงานในพื้นที่เขตก่อสร้าง งานเชื่อม-ตัดโลหะ หรืองานทดลองเกี่ยวกับสารเคมี แว่นนิรภัยมีทั้งรูปแบบที่เป็นแว่นตา สำหรับใช้ในงานทั่วไป กับแบบที่เป็นแว่นครอบตา สำหรับใช้ในงานที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น เช่น งานเจียระไน งานสกัด/กระแทกวัตถุ งานเชื่อมหรือตัดโลหะ รวมไปถึงงานที่เกี่ยวข้องกับแสงจ้า หรือรังสี

อุปกรณ์ ppe สำคัญอย่างไร

ถุงมือนิรภัย อุปกรณ์เซฟตี้ป้องกันมือและแขน (Hand Protection)

การทำงานในโรงงาน คลังสินค้า หรืองานก่อสร้าง ซึ่งต้องหยิบจับอุปกรณ์ต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ถุงมือนิรภัย จึงเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์เซฟตี้ที่จำเป็นอย่างยิ่ง และที่สำคัญคือต้องเลือกถุงมือให้เหมาะสมตามลักษณะของงาน ไม่อย่างนั้นอาจทำให้หยิบจับอะไรไม่ถนัดหรือการป้องกันที่ไม่ดีพอ ชนิดของถุงมือนิรภัยแบ่งตามลักษณะเนื้องาน ได้ดังนี้

  • ถุงมือใยหิน สำหรับป้องกันความร้อนหรือไฟ
  • ถุงมือใยโลหะ สำหรับงานที่ต้องหั่น ตัด หรือจับของมีคม
  • ถุงมือยาง สำหรับงานไฟฟ้า แต่ถ้าเป็นงานเกี่ยวกับไฟฟ้าแรงสูง ต้องสวมถุงมือหนังทับอีก 1 ชั้น
  • ถุงมือยางไวนีล/ถุงมือยางนีโอพรีน สำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี
  • ถุงมือหนัง สำหรับงานไม้ งานโลหะ งานขัดผิว แกะสลัก หรืองานเชื่อมที่ไม่ได้ใช้ความร้อนสูง
  • ถุงมือหนังเสริมใยเหล็ก สำหรับงานหลอมหรือถลุงโลหะ
  • ถุงมือผ้า สำหรับงานทั่วไปที่ต้องหยิบจับสิ่งของ ใช้เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกหรือของมีคมอย่างมีด
  • ถุงมือผ้าแบบเคลือบน้ำยา สำหรับงานที่ต้องสัมผัสสารเคมีเล็กน้อย เช่น งานบรรจุกระป๋อง หรืองานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร

สวมใส่เสื้อนิรภัยให้พร้อม

เสื้อนิรภัย อุปกรณ์เซฟตี้ป้องกันลำตัว (Body Protection Equipment)

อุปกรณ์เซฟตี้ป้องกันลำตัว เรียกว่า เสื้อนิรภัย ใช้ป้องกันอันตรายจากสารเคมี ความร้อน ตะกั่ว หรือสะเก็ดไฟ ซึ่งเสื้อนิรภัยที่ใช้ในงานต่างชนิดกันก็ทำมาจากวัสดุต่างกัน เช่น

  • เสื้อนิรภัยป้องกันสารเคมี จะทำจากโพลีเมอร์ที่ทนต่อฤทธิ์ของสารเคมีได้
  • เสื้อนิรภัยกันความร้อน ทำจากผ้าทอเส้นใยแข็งเคลือบผิวด้านนอกด้วยอะลูมิเนียม
  • ถ้าต้องการใช้เพื่อป้องกันการติดไฟ ต้องใช้เสื้อนิรภัยที่ชุบด้วยสารป้องกันไฟ
  • เสื้อนิรภัยตะกั่ว ทำจากผ้าใยแก้วฉาบผิวด้วยตะกั่ว ใช้สำหรับป้องกันร่างกายจากรังสีต่างๆ
  • เสื้อสะท้อนแสง ใช้สำหรับสวมใส่ทับเสื้อผ้าปกติ ในงานที่ทำในพื้นที่แสงสว่างน้อย ที่อับ หรือที่แคบ มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย สวมเพื่อให้ง่ายต่อการมองเห็น เช่น งานก่อสร้างบริเวณทางด่วน งานที่ทำบนที่สูง บนท้องถนน งานสำรวจอาคาร ฯลฯ โดยปกติแล้วเสื้อสะท้อนแสงจะมองเห็นได้ง่ายทั้งเวลากลางวันและกลางคืน มีหลากหลายสี เช่น สีเหลือง สีส้ม และสีเขียว

Smartweb แหล่งรวบรวมความรู้ที่เป็นประโยชน์ในด้านความปลอดภัยในการทำงาน เรียนรู้เรื่องน่าสนใจและเทคนิคที่คุณสามารถนำไปใช้ได้จริง 

Copyright @2024  All Right Reserved – Designed and Developed by smartweb-ec